5 กฏหมายต่อเติมบ้าน ต่อเติมอย่างไรให้ไม่ผิดกฏหมาย 2567
หากต้องการจะต่อเติมบ้านยังมีข้อกฎหมายที่ผู้ต้องการจะรีโนเวทบ้านควรรู้เพราะหากฝ่าฝืนอาจเกิดปัญหาที่จะตามมาได้ในอนาคต ProperMu ได้รวบรวมข้อมูลต่อเติมบ้านอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมายมาไว้ที่นี่แล้ว
ข้อ 1 เมื่อต่อเติมบ้านแล้ว ต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไม่น้อยกว่า 30%
กฎหมายไม่อนุญาตให้ต่อเติมที่พักอาศัยจนเต็มทั้งพื้นที่ของที่ดิน โดยต้องที่เว้นว่าง ระหว่างตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเองอย่างน้อย 30% ของพื้นที่ เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิด
ข้อ 2 แนวของตัวอาคาร และระยะร่นต่างๆ ต้องมีความสูงไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
ะเราไม่สามารถใช้พื้นที่ 100% ของที่ดินที่เรามีในการสร้างหรือต่อเติมบ้านได้ จะต้องมีการเว้นระยะด้วย ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้
-
ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนน มีอย่างน้อย 3 เมตร
-
ที่ว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้า ต้องเว้นไว้อย่างน้อย 3 เมตร ที่ว่างด้านหลังและด้านข้าง ต้องเว้นไว้อย่างน้อย 2 เมตร
-
ขอบเขตของตัวบ้านจะต้องไม่เกิน 70% ของขนาดที่ดิน โดยนับจากชั้นที่มีพื้นที่กว้างสุด
-
บ้านขนาด 1 ชั้น หรือบ้านที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของช่องเปิด ได้แก่ หน้าต่าง ช่องลม ช่องแสง ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร กรณีที่เป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
ข้อ 3 เพื่อนบ้านรับรู้ และได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียง
การต่อเติมบ้านควรดำเนินการไปอย่างไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบบ้าง เช่น เสียงดัง กลิ่น หรือฝุ่น
ดังนั้นก่อนดำเนินการต่อเติมบ้านเจ้าของบ้านควรพูดคุยขอความยินยอมพร้อมแจ้งวันเวลาให้เพื่อนบ้านรับรู้ไว้ก่อน โดยเฉพาะการต่อเติมผนังทึบที่ชิดรั้วบ้านด้านข้างจะต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งภายหลัง
ข้อ 4 ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำหรับการต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น หากดำเนินการในข้อต่างๆ ดังนี้ จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน
-
การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร
-
การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน
-
การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
-
การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐานรับน้ำหนัก
ข้อ 5 ควบคุมการดำเนินการต่อเติมบ้าน โดยสถาปนิกและวิศวกร
การขออนุญาตต่อเติมบ้านที่ต้องยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าพนักงานท้องถิ่นนั้น ต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนที่จะใช้ในการต่อเติมที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบ รวมถึงวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง
หากเป็นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของวัสดุก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้น หลังคา เสา จะต้องมีการคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักของฐานจากสถาปนิกหรือวิศวกรที่รับหน้าที่ก่อสร้างด้วย
เมื่อทราบกฎหมายควบคุมการต่อเติมบ้านแล้ว เจ้าของบ้านที่มีแผนจะต่อเติมบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัยจึงควรวางแผนก่อนต่อเติมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ตามมา ซึ่งหากเจ้าของบ้านไม่ปฏิบัติตามแล้วมีผู้ร้องเรียน เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหากเจ้าของบ้านมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฏหมายการต่อเติมบ้านแล้ว จะช่วยป้องกันปัญหาการต่อเติมที่ผิดกฎหมายได้ เนื่องจากมีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมงาน อีกทั้งยังช่วยประสานงานติดต่อขออนุญาตในขั้นตอนต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของบ้าน และทำให้การก่อสร้างต่อเติมเป็นไปอย่างราบรื่น หมดปัญหาหมดห่วงอย่างแน่นอน
บทลงโทษ และค่าปรับหากทำผิดกฎหมายการต่อเติมบ้าน
ตามกฎพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งสรุปเข้าใจแบบง่าย ๆ คือ การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้ง และต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ ตามมาตรา 21 พร้อมกับต้องยื่นแบบแปลน รวมถึงจะต้องชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงานให้เจ้าพนักงานทราบ ตามมาตรา 39 ทวิ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้การก่อสร้าง หรือต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย และป้องกันการรบกวนบุคคลในพื้นที่ข้างเคียงครับ
หากมีการต่อเติมบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือต่อเติมบ้านผิดไปจากแบบแปลนที่ยื่นขอไว้ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
หากเป็นกรณีที่เจ้าของบ้านถูกร้องเรียน และสืบพบว่ามีการต่อเติมบ้านผิดกฎหมาย จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
ProperMu หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยให้ท่านได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับกฏหมายการต่อเติมบ้านเป็นอย่างดี แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะครับ^^