ระวัง! แอบปล่อยเช่าคอนโดรายวัน ผิดกฏหมาย

โดย Ninan ProperMu

05 / October / 2024

ระวัง! แอบปล่อยเช่าคอนโดรายวัน ผิดกฏหมาย

ระวัง! แอบปล่อยเช่าคอนโดรายวัน ผิดกฏหมาย

การปล่อยเช่าห้องแบบรายวันในหลายๆ ประเทศผ่านเว็บไซต์ Airbnb เป็นที่นิยมอย่างมาก ทำให้การปล่อยเช่ารายวันสามารถหากลุ่มลูกค้าได้ง่ายมากกว่ารายเดือน แถมผลตอบแทนที่ได้ต่อเดือนก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าค่าเช่ารายเดือนหลายพันบาท ขึ้นอยู่กับทำเลของโครงการ ขนาดที่พัก และฤดูการท่องเที่ยว ยิ่งทำให้นักลงทุนมองเห็นโอกาสทำกำไรกันมากขึ้น

ปล่อยเช่ารายวันผิดกฎหมายหรือไม่ ?

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกมาชี้แจงว่าอาจผิดกฎหมายอย่างน้อย 2 ฉบับ ได้แก่

1. พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ. 2478 เป็นการการกระทำที่ผิดกฎหมายเนื่องจากเข้าข่ายจดทะเบียนผิดประเภท เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนเป็นโรงแรม มีผลให้ห้องชุดหรืออาคารชุดจะไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภคตามข้อบังคับของโรงแรม เช่น กรณีทรัพย์สินผู้เข้าพักสูญหายหรือเสียหายในพื้นที่ส่วนกลาง จะไม่มีผู้รับผิดตามกฎหมาย

2. พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมีหน้าที่ดูแลส่วนกลางเท่านั้น แต่สามารถฟ้องหมิ่นประมาทกับเจ้าของห้องที่ปล่อยเช่ารายวันได้ในกรณีที่ทำให้โครงการเสียชื่อเสียง

และการที่เจ้าของห้องปล่อยเช่ารายวันอาจผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ที่ต้องรายงานชื่อของชาวต่างชาติให้ตม. รับทราบภายใน 24 ชั่วโมง ยังไม่รวมถึงกฎหมายภาษีอีกด้วย

.

ปัญหาที่เกิดจากการปล่อยเช่ารายวัน

สิ่งที่จะตามมาจากการให้เช่าคอนโดรายวัน คือ ผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อลูกบ้านรายอื่นๆ เพราะการปล่อยเช่ารายวันทำให้ผู้พักอาศัยในคอนโดต้องพบเจอกับคนแปลกหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามา จึงเกิดความละเลยในการคัดกรองคน ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกบ้านในคอนโดคนอื่นๆ

อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักอาศัยรายวันมีพฤติกรรมไม่เคารพกฎระเบียบในการอยู่อาศัยคอนโด เช่น ส่งเสียงดังยามวิกาล การจัดการขยะที่ไม่เรียบร้อย ไม่ดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง ซึ่งการกระทำเหล่านี้สร้างความเดือดร้อนทั้งให้ผู้พักอาศัยในคอนโดและทรัพย์สินส่วนกลางภายในโครงการได้

.

ดังนั้น หากท่านเจ้าของท่านใดที่กำลังตัดสินใจในการปล่อยเช่าห้องรายวัน เมื่อทราบถึงข้อกฏหมาย ความเสี่ยง และผลกระทบที่ตามมาแล้ว ท่านควรตัดสินใจอย่างรอบคอบอีกครั้ง


คอนโดปล่อยเช่า
ปล่อยเช่ารายวัน
กฏหมาย
propermu-watermark